วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประเภทของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ

 ประเภทของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ  

ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง
(Executive Information System: EIS) 
     ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง คือ MIS ประเภทพิเศษที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถ ใช้ระบบสารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบสัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกันทำให้ผู้บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง

คุณสมบัติของระบบ EIS
     - มีการใช้งานบ่อย
     - ไม่ต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง
     - ความยืดหยุ่นสูงสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
     - การใช้งานใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
     - การสนับสนุนการตัดสินใจไม่มีโครงสร้างแน่นอน
     - ผลลัพธ์ที่แสดงจะเป็นตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
     - การใช้งานภาพกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่างๆ
     - ความเร็วในการตอบสนองรวดเร็วทันทีทันใด
ประโยชน์ของของระบบ EIS
     1. ง่ายต่อผู้บริหารระดับสูงในการใช้งาน
     2. การใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์
     3. ให้สารสนเทศสรุปของบริษัทในเวลาที่ต้องการ
     4. ทำให้สามารถเข้าในสารสนเทศได้ดีขึ้น
     5. มีการกรองข้อมูลให้ประหยัดเวลา
     6. ทำให้ระบบสามารติดตามสารสนเทศได้ดีขึ้น



GDSS (Group Decision Support Systems)


ลักษณะของระบบสนันสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
1. เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบขึ้นโดยเฉพาะ ซึ่งไม่ใช่การนำองค์ประกอบต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว มาประยุกต์ใช้แต่จะต้องสร้างขึ้นมาใหม่จึงจะเรียกว่าเป็นระบบ GDSS
2. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม ถูกออกแบบมาโดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงกระบวนการตัดสินใจขององค์ประชุม
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจถูกออกแบบมาเพียงเพื่อต้องการแก้ปัญาหาเฉพาะหน้า หรือแก้ไขปัญหาทั่วไปก็ได้
4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะต้องง่ายต่อการเรียนรู้ และใช้งานได้สะดวก อีกทั้งยังอาจให้ความหลากหลายกับผู้ใช้ในแต่ละระดับที่เกี่ยวข้องกับความรู้ การประมวลผล และการสนับสนุนการตัดสินใจ
5. มีกลไกที่ให้ผลในเรื่องการปรับปรุงจุดบกพร่องที่เกิดจกพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมประชุม เช่นการขจัดความขัดแย้งในที่ประชุม
6. ระบบจะต้องออกแบบให้มีความสามารถในการกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมต่างๆ เช่น กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

ประโยชน์ของ GDSS
1. ช่วยในการเตรียมความพร้อมในการประชุม
2. มีการจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุม
3. สร้างบรรยากาศในการร่วมมือกันระหว่างสมาชิก
4. สนับสนุนการมีส่วนร่วมและกระตุ้นการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก
5. มีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของปัญหา
6. ช่วยให้การประชุมบรรลุผลในระยะเวลาที่สมควร
7. มีหลักฐานการประชุมแน่ชัด


แหล่งที่มา : http://thanasite.blogspot.com/2013/06/eis-gdss.html