วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558

อาชีพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ



1.อาชีพโปรแกรมเมอร์
          ลักษณะการทำงานของนักโปรแกรมเมอร์โปรแกรมเมอร์ จะทำหน้าที่ นำข้อมูลการออกแบบรายละเอียดการวางโครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ จากนักวิเคราะห์ระบบงาน มาเขียนเป็นโปรแกรมต่าง ๆ ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมจะแตกต่างกันไปตามลักษณะเครื่องของระบบฐานข้อมูล ทดสอบระบบและส่งให้นักวิเคราะห์ระบบทำการตรวจสอบอีกครั้งเพื่อหากจุดบกพร่องและแก้ไขก่อนนำไปใช้จริง
โปรแกรมเมอร์ยังต้องทำหน้าที่ รับรายละเอียดของความต้องการของผู้ใช้ระบบ (User) จากนักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) จัดทำแผนภูมิ (Flowchart) ขั้นตอนการทำงานที่ละเอียด และถูกต้องตามหลักวิชา เพื่อประโยชน์ในการเขียนโปรแกรมสำหรับการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์แผนภูมิหรือแผนผังสายงาน แต่เพียงบางส่วนหรือทั้งหมด
        คุณสมบัติที่จำเป็นในการเป็นโปรแกรมเมอร์
• มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถเข้ารับศึกษาได้ในสถานบันการศึกษาที่เรียนทำการสอนหรือสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางด้านคอมพิวเตอร์
• มีทักษะในการการเขียนภาษาคอมพิวเตอร์
• มีความคิดสร้างสรรค์สามารถประยุกต์และดัดแปลงความรู้ความสามารถทางด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี
แหล่งที่มา ;https://www.gotoknow.org/posts/576082





2.เว็บมาสเตอร์ในฐานะอาชีพ
         เว็บมาสเตอร์เป็นผู้ฝึกหัดของการสื่อสารผ่านเว็บ โดยปกติเว็บมาสเตอร์จะเป็นผู้ที่มีความรู้ทั่วไปอย่างกว้างขวาง (generalist) แต่ก็มีความเชี่ยวชาญในเรื่องเอชทีเอ็มแอลเพื่อที่จะจัดการการดำเนินงานบน เว็บทุกรูปแบบ เว็บมาสเตอร์อาจมีความรู้ในเรื่องภาษาสคริปต์อื่นๆ อีกเช่น ภาษาพีเอชพี ภาษาเพิร์ล หรือจาวาสคริปต์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำเว็บไซต์
         บนเว็บไซต์ที่ใหญ่ขึ้น เว็บมาสเตอร์จะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานและตรวจสอบกิจกรรมต่างๆ ของผู้อื่นที่ทำงานบนเว็บ ซึ่งมักจะเป็นลูกจ้างของเจ้าของเว็บไซต์นั้นเอง ดังนั้นเว็บมาสเตอร์จึงอาจถูกจัดว่าเป็นอาชีพอย่างหนึ่ง ถ้าหากเว็บมาสเตอร์ได้รับการว่าจ้างโดยเว็บไซต์ที่ใหญ่ขึ้น หรือได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้มาเป็นเว็บมาสเตอร์ พวกเขาจะต้องทำงานหลายอย่างเกี่ยวกับการออกแบบเว็บ ไปจนถึงการบริหารโครงการหรือการควบคุมดูแลลูกจ้าง
         ในสมัยก่อนการใช้คำว่า "เว็บมาสเตอร์" (ซึ่งเลียนแบบมาจาก "โพสต์มาสเตอร์" คือผู้ดูแลระบบอีเมล) หมายถึงบทบาทการทำงานทุกรูปแบบเกี่ยวกับการวางแผน การเขียนโค้ด การผลิต และส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ งานของเว็บมาสเตอร์อาจมีหน้าที่หลายอย่างซึ่งเป็นของผู้ออกแบบสารสนเทศ (information architect) อาทิ การตรวจสอบความใช้งานได้ (usability) ความชำนาญของผู้ใช้ และการจำแนกรายการเมนูของเว็บไซต์
         อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา บทบาทของเว็บมาสเตอร์ดังกล่าวพบได้เฉพาะเว็บไซต์ขนาดเล็ก ซึ่งเว็บมาสเตอร์เพียงคนเดียวสามารถจัดการได้เอง หรือในสภาพแวดล้อมที่การกำหนดบทบาทหน้าที่มีไม่มากนัก โครงสร้างในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะทำงานเป็นทีม โดยมีผู้บริหารเว็บไซต์หรือผู้ประกอบการออนไลน์ (online producer) เป็นผู้นำทีม ภายในทีมอาจประกอบไปด้วยผู้พัฒนาเว็บ ผู้ออกแบบเว็บ โปรแกรมเมอร์ ผู้ตรวจสอบคุณภาพ (quality assurance) ผู้พัฒนาแฟลช และอย่างน้อยก็ต้องมีผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความใช้งานได้ หรือผู้ออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ ในบริษัทที่รับงานพัฒนาเว็บ โดยเฉพาะบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1990 คำว่าเว็บมาสเตอร์อาจถูกใช้โดยเจ้าหน้าที่อาวุโส (senior officer) ของบริษัท เพื่อใช้เรียก ประธานผู้ดูแลเว็บ (webmaster-in-chief)
        ความหมายที่กว้างขึ้นของเว็บมาสเตอร์คือ นักธุรกิจผู้ซึ่งใช้สื่อออนไลน์ในการขายสินค้าและบริการ ความหมายนี้ไม่เพียงแค่ครอบคลุมลักษณะหน้าที่ทางเทคนิคที่จะต้องตรวจสอบการ สร้างและบำรุงรักษาเว็บไซต์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการจัดการเนื้อหา การโฆษณา การตลาด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของเว็บไซต์
         ความรับผิดชอบหลักของเว็บมาสเตอร์ รวมไปถึงการวางข้อกำหนดและการบริหารสิทธิการเข้าถึงของผู้ใช้ที่แตกต่างกัน ในเว็บไซต์ และการกำหนดภาพลักษณ์ของการสำรวจเว็บไซต์ การวางตำแหน่งของเนื้อหาก็อาจเป็นความรับผิดชอบของเว็บมาสเตอร์ แต่ในขณะที่การสร้างเนื้อหาขึ้นมาใหม่ปกติจะไม่ใช่ นอกจากนั้น เว็บมาสเตอร์อาจทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่รับฟังความคิดเห็นและคำติชมจากผู้ ใช้ซึ่งเกี่ยวกับการทำงานของเว็บไซต์

แหล่งที่มา : http://arit.rmutl.ac.th/2552/index.php/knowledge/43-km/114-whowebmaster.html?tmpl=component&print=1&page=