วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ข่าวผลกระทบของไอทีทั้งด้านดีและด้านลบ

เด็กติดเกม สังคมก้มหน้า ปัญหาใกล้ที่ตัวพ่อ-แม่



ฟังคำแนะนำจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ เผยการดูแล-ใกล้ชิดลูก คือภูมิคุ้มกันชั้นยอด แนะผู้ปกครองอย่าใช้อารมณ์เป็นทางออก ใช้หากิจกรรมอื่นสร้างประโยชน์ ช่วยดึงความสนใจเด็กจากแท็บเล็ต-สมาร์ทโฟน-คอมพ์ ได้…


ความบันเทิงประเภท "เกม" มักจะเป็นเครื่องคลายเครียด คลายเหงา แถมยังเป็นพฤติกรรมเพลินๆ ที่ช่วยฆ่าเวลาว่างให้เราได้ดีเสมอมา แต่… เมื่อใดก็ตามที่เกิดเหตุการณ์หรือปัญหา อาทิ การฉ้อโกง ความรุนแรง ความเสียหาย หรือแม้แต่การล่อลวงขึ้นในสังคม จากเกมที่เคยเป็นศูนย์รวมความบันเทิง กลายเป็นอบายมุขไปทันที

เห็นกันง่ายๆ ใกล้ตัว และปรากฏเป็นข่าวร้อนตามสื่อต่างๆ เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมากที่สุดข่าวหนึ่ง คงจะหนีไม่พ้นเรื่องราวชวนตะลึง หลังจากผู้เป็นแม่เปิดโอกาสให้ลูกนำสมาร์ทโฟนไปเล่นเกม ทำให้จุดเริ่มต้นความบันเทิงใกล้ตัวอย่างเกมบนมือถือ กลายเป็นหนี้สินไปในชั่วพริบตา

"ปัญหาเกี่ยวกับการเล่นเกมมีให้เราพบเห็นมาก ก็เพราะเทคโนโลยีเข้าใกล้เยาวชนมากขึ้น พ่อแม่จำเป็นต้องดูแลลูกให้ใกล้ชิด เมื่อเกิดปัญหา บางคนบอกว่าจะไม่ให้ลูกเล่นเกมอีกแล้ว ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีสำหรับเด็กเล็ก แต่กับเด็กวัยรุ่นที่กำลังโตคงไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะห้ามพวกเขา เพราะปัจจุบันเกมกลายเป็นสังคมหนึ่งของเด็กๆ ไปแล้ว" พ.ต.ท.หญิง อัญชุลี ธีระวงศ์ไพศาล จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น และรองโฆษก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าว

"นอกจากเป็นพ่อแม่ผู้ปกครองแล้ว ควรเป็นเพื่อนให้กับลูกๆ ด้วย นอกจากการสอนให้ลูกรู้จักการคิดและตัดสินใจ ก็ควรสอนให้เขาเท่าทันสังคมด้วย แม้จะเป็นการพูดย้ำๆ ซ้ำๆ ก็จำเป็นต้องทำ แต่การสั่งหรือแนะนำก็ต้องไม่ใช้อารมณ์ พูดบ่อยได้แต่ก็ต้องไม่มากไปไม่น้อยไป นอกจากวัยเด็กจะต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดแล้ว วัยรุ่นก็เป็นวัยที่พ่อแม่ต้องดูแลเช่นกัน แต่พฤติกรรมการดูแลอาจจะไม่ต้องใกล้ชิดมากเท่ากับวัยเด็ก ควรจะถอยห่างออกมาให้เขาได้มีอิสระและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ใหญ่จะสอนเด็กก็ควรต้องทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีด้วย ไม่ใช่ว่าห้ามลูกเล่นเกมแต่ทุกครั้งที่เจอหน้ากันก็เอาแต่กดมือถือจนไม่เงยหน้ามองคนในครอบครัว"

ถ้าไม่อยากต้องแก้ปัญหา เห็นทีพ่อแม่ ผู้ปกครองจะต้องวางแผนให้ดี จะใกล้ชิด ดูแลบุตรหลานได้อย่างไร ในยุคที่เทคโนโลยีวิ่งนำหน้าเราอยู่เสมอเช่นนี้...!


วิเคราะห์ข่าว

ผลกระทบด้านบวก
1. การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควมคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นต้น
               2. เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส   เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการกระจายไปทั่วทุกหนแห่ง แม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ทำให้มีการกระจายโอกาสการเรียนรู้ มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล นอกจากนี้ในปัจจุบันมีความพยายามที่จะใช้ระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสาร
               3. สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน
   การเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศใน โรงเรียนมากขึ้น
               4. เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม   การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวมรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่าง ๆ การตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วย ที่เรียกว่า โทรมาตร เป็นต้น
               5. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ   กิจการทางด้านการทหารมีการใช้เทคโนโลยี อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบควบคุม มีการใช้ระบบป้องกันภัย ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ ควบคุมการทำงาน
               6.การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม   การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็น 
ต้องหาวิธีการ ในการผลิตให้ได้มาก ราคาถูกลง เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมาก มีการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการ การดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น
               7. เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน   บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้าและเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป

ผลกระทบด้านลบ
 1. ก่อให้เกิดความเครียดในสังคมมากขึ้น  เนื่องจากมนุษย์ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เคยทำอะไรแบบใด มักจะชอบทำแบบนั้น ไม่ชอบการ เปลี่ยนแปลง แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปเปลี่ยนแปลง บุคคลที่รับการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ จึงเกิดความวิตกกังวล จนกลาย เป็นความเครียด กลัวว่าคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศจะทำให้คนตกงาน เพราะสิ่งเหล่านี้จะเข้ามาทดแทนมนุษย์ 
               2. ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรม  หรือการแลกเปลี่ยนวัฒนรรมของคนในสังคมโลก ทำให้พฤติกรรมที่แสดงออกด้านการแต่งกาย และการบริโภคเปลี่ยนแปลงไป การมอมเมาเยาวชนในรูปของเกมส์อิเล็คทรอนิคส์ ส่งผลกระทบ ต่อการพัฒนาอารมณ์และจิตใจของเยาวชน เกิดการกลืนวัฒนธรรมดั้งเดิมซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์ของสังคมนั้น
               3. ก่อให้เกิดผลด้านศีลธรรม   บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้า และเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป
               4. การมีส่วนร่วมของคนในสังคมลดน้อยลง   การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ในการสื่อสารและการทำงาน แต่ในอีกด้านหนึ่งการมีส่วนร่วมของกิจกรรมทางสังคมที่มีการพบปะสังสรรค์กันจะน้อยลง ผู้คนมักอยู่แต่ที่บ้านหรือที่ทำงานของตนเองมากขึ้น
               5. การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลโดยการเพยแพร่ข้อมูลหรือรูปภาพต่อสาธารณชน
ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจไม่เป็นความจริงหรือยังไม่ได้พิสูจน์ความถูกต้องออกสู่สาธารณะชน ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคลโดยไม่สามารถป้องกันตนเองได้ การละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเช่นนี้ ต้องมีกฎหมายออกมาคุ้มครองเพื่อให้นำข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ในทางที่ถูกต้อง
               6. เกิดช่องว่างทางสังคม  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องกับการลงทุน ผู้ใช้จึงเป็นชนชั้นในอีกระดับหนึ่งของสังคม ในขณะที่ชนชั้นระดับรองลงมามีจำนวนมากกลับไม่มีโอกาสใช้และผู้ยากจนก็ไม่มีโอกาสรู้จักกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
               7. อาชญากรรมบนเครือข่าย   ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดปัญหาใหม่ขึ้น เช่น ปัญหาอาชญากรรม ตัวอย่างเช่น อาชญากรรมในรูปของการขโมยความลับ การขโมยข้อมูลสารสนเทศ การให้บริการสารสนเทศที่มีการหลอกลวง รวมถึงการบ่อนทำลายข้อมูลและไวรัส
               8. ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ   นับตั้งแต่คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการทำงาน การศึกษา บันเทิง ฯลฯ การจ้องมอง คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน มีผลเสียต่อสายตา ซึ่งทำให้สายตาผิดปกติ มีอาการแสบตา เวียนศรีษะ นอกจากนั้นยังมีผลต่อสุขภาพจิต เกิดโรคทางจิตประสาท  

การป้องกัน

 สิ่งที่ครอบครัวควรปฏิบัติเพื่อป้องกันปัญหาเด็กติดเกมส์
 
            1.ก่อนจะซื้อเกมหรือคอมพิวเตอร์เข้ามาในบ้าน ควรคุยกับเด็กเพื่อกำหนดกติกาการเล่นเกมกันล่วงหน้าอย่างชัดเจนเสียก่อนว่าจะอนุญาตให้เด็กเล่นเกมได้วันใด เวลาใดบ้าง เล่นแต่ละครั้งนานกี่ชั่วโมงก่อนจะเล่นต้องรับผิดชอบทำอะไรให้เรียบร้อยก่อน เช่น ทำการบ้าน หรืองานบ้านที่รับผิดชอบให้เสร็จก่อนควรให้เด็กเล่นเกมเฉพาะวันหยุด เช่น เย็นวันศุกร์ วันเสาร์ และวันอาทิตย์ ครั้งละไม่เกิน 1ชั่วโมงในเด็กประถม ไม่เกิน 2 ชั่วโมงในเด็กวัยรุ่น และหากเด็กไม่รักษากติกา เช่น เล่นเกินเวลาไม่ทำการบ้านให้เสร็จก่อน เด็กจะต้องรับผิดชอบอย่างไร เช่น ริบเกมหรือตัดสิทธิในการเล่นเกมเป็นเวลาระยะหนึ่ง คุณหมอแนะนำว่าให้เขียนกฎ กติกา มารยาทไว้ในที่เห็นชัด เช่น หน้าคอมพิวเตอร์ และมีสมุดลงบันทึกการใช้งานคอมพิวเตอร์
 
              2.ไม่ควรวางคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นเกมไว้ในห้องนอนเด็ก ควรวางไว้เป็นสมบัติส่วนรวมของบ้านมีคนเดินผ่านไปมาบ่อย ๆ เช่น ห้องนั่งเล่น เพื่อที่ผู้ปกครองจะได้ติดตามเฝ้าดูได้

              3.วางนาฬิกาไว้หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นเกม หรือในจุดที่เด็กมองเห็นเวลาได้ชัด

              4.ควรชมเมื่อเด็กรักษาและควบคุมตัวเองเวลาในการเล่นเกมได้

              5.เอาจริงและเด็ดขาด เมื่อเด็กไม่รักษากติกา ไม่ใจอ่อน แม้ว่าเด็กจะโวยวาย เช่น ริบเกม และพ่อแม่ควรกลับมาทบทวนอย่างจริงจังว่า เกิดปัญหาอุปสรรคใดที่ทำให้เด็กไม่ทำตามกติกา ควรคุยกับเด็กเพื่อหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน เช่น กำหนดกติกาเพิ่มเติม เช่น ให้เด็กเตือนตัวเองก่อน ถ้าไม่ได้พ่อแม่อาจเตือน 1 ครั้งล่วงหน้าก่อนหมดเวลา 10 นาที เมื่อหมดเวลา พ่อแม่จะเตือน และให้เด็กเลือกว่าเด็กจะหยุดเล่นเกมแล้วเซฟไว้ หรือจะให้พ่อแม่ปิดเครื่อง โดยไม่มีการต่อรอง

              6.สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเด็ก สร้างบรรยากาศในครอบครัวให้อบอุ่น น่าอยู่

              7.ส่งเสริมให้เด็กมีกิจกรรมอื่นที่สนุกสนานและเด็กสนใจ แทนการเล่นเกม เช่น ช่วยพ่อปลูกต้นไม้

              8.ฝึกระเบียบวินัย สอนให้เด็กรู้จักแบ่งเวลา

              9.พ่อแม่ควรมีความรู้เกี่ยวกับเกม แยกแยะประเภทของเกม เลือกใช้เกมที่เป็นประโยชน์ ควรพูดคุยและให้ความรู้สอดแทรกให้ลูกเข้าใจและยอมรับได้ว่าการเล่นเกมที่ดีควรเลือกเกมอะไร เกมที่ไม่ส่งเสริมให้เล่น เพราะอะไร
 
 
               ถ้าพบว่าเด็กติดเกมแล้ว พ่อแม่ควรปฏิบัติดังนี้
 
               1.หากในบ้านยังไม่มีกฎหรือกติกาการเล่นเกม พ่อแม่ต้องวางกติกา โดยพูดคุยกับเด็ก เพื่อกำหนดกติกากันล่วงหน้าก่อนจะซื้อเกม

               2.พ่อแม่ควรมีเวลาอยู่กับเด็กมากขึ้น พาออกนอกบ้าน เพื่อไปทำกิจกรรมที่เด็กชอบ (ยกเว้นการไปเล่นเกมนอกบ้าน) เนื่องจากเด็กส่วนหนึ่งติดเกมเพราะความเหงา เบื่อไม่มีอะไรสนุกๆ ทำ

               3.พ่อแม่ควรรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับเด็ก หลีกเลี่ยงการบ่นด่า ตำหนิ ใช้อารมณ์ หรือถ้อยคำรุนแรง แสดงความเห็นใจ เข้าใจว่าเด็กไม่สามารถควบคุมตัวเอง หรือตัดขาดจากเกมได้จริงๆ

               4.พ่อแม่ และผู้ใหญ่ทุกคนในบ้านต้องร่วมมือกันในการแก้ปัญหา โดยใช้กฎเดียวกัน อย่าปัดให้เป็นภาระหรือความรับผิดชอบของใครคนใดคนหนึ่ง

               5.สร้างเครือข่ายผู้ปกครองที่มีเด็กติดเกมเหมือนๆ กันหลายๆ ครอบครัว แล้วผลัดกันนำเด็กทำกิจกรรมหลังเลิกเรียน หรือในวันหยุด เช่น Camping, field trip, walk rally ฯลฯ จัดตั้งกลุ่มย่อยๆ เช่น sport club, adventure club เป็นต้น

               6.ในรายที่ติดมากจริงๆ และเด็กต่อต้านรุนแรงที่จะเลิก ในระยะแรกพ่อแม่อาจเข้าไปมีส่วนร่วมในการเล่นเกมกับเด็ก ทำความรู้จักกับเกมที่เด็กชอบเล่น หากเห็นว่าเป็นเกมที่ไม่เหมาะสมหรือเกมที่ใช้ความรุนแรง พยายามเบี่ยงเบนให้เด็กมาสนใจเกมอื่นที่พอจะมีส่วนดี ดึงเอาส่วนดีของเกมมาสอนเด็ก เช่น เกมสร้างเมือง หรือ Strategic game ต่างๆ เมื่อสัมพันธ์ภาพกับเด็กเริ่มดีขึ้น พ่อแม่จึงค่อยๆ ดึงเด็กให้มาสนใจในกิจกรรมอื่นทีละเล็กทีละน้อย

                7.หากทำทุกวิธีข้างต้นแล้วไม่ได้ผล หรือในกรณีที่สงสัยว่าเด็กอาจมีปัญหาทางจิตใจ หรือโรคทางจิตเวช เช่น ภาวะซึมเศร้า หรือสมาธิสั้น ควรส่งเด็ก เพื่อรับการวินิจฉัย และบำบัดรักษาจากจิตแพทย์ หรือจิตแพทย์
 
 
                รัฐบาล การแก้ปัญหาต้องได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย รัฐควรออกมาตรการจัดโซนนิ่งร้านเกม คาราโอเกะและอื่นๆ ที่เข้าข่ายเป็นสถานบริการ ต้องขออนุญาต แล้วมีเวลาเปิด-ปิด ที่ชัดเจน ไม่ควรอนุญาตให้ตั้งใกล้โรงเรียน รวมทั้งเจ้าของร้านเห็นเด็กที่อยู่ในวัยเรียนมาเล่นเกมในช่วงเวลาเรียนก็ควรให้เด็กกลับไปเรียน
 
 
                 ผู้ประกอบกิจการร้านเกมส์คอมพิวเตอร์ กฎหมายที่เกี่ยวกับร้านเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์
                 1.เวลาทำการ
 
                  - ให้บริการสำหรับประชาชนทั่วไปได้ ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง (ไม่กำหนดเวลาปิด-เปิด)
                  - ให้บริการ สำหรับ ผู้ทีมีอายุไม่เกิน 18 ปี ไม่เกินเวลา 22.00 น (ยกเว้น จะได้รับการอนุญาต จากผู้ปกครอง เป็นลายลักษณ์อักษร)
                  - ให้บริการ สำหรับเด็กและเยาวชน มีอายุไม่เกิน 15 ปี ตั้งแต่เวลา 14.00 น ถึงเวลา 22.00น. (ยกเว้น วันหยุดเรียนของสถานศึกษา และ การใช้บริการอินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา)
 
                  2.สถานที่ประกอบการ
 
                   - สถานที่ ต้องมีความสะอาด ไม่แออัด มีแสงสว่างเพียงพอ
                   - มีความปลอดภัย โดยเฉพาะความปลอดภัยในด้านกระแสไฟฟ้า
                   - มีห้องน้ำไว้บริการ ตามความเหมาะสม - ปลอดจากมลภาวะทางเสียง
 
                  3.คุณสมบัติอื่นๆ
 
                  - ต้องจดทะเบียนกับทางราชการอย่างถูกต้อง
                  - ให้บริการ และใช้โปรแกรมซอฟแวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย
                  - ให้บริการ สำหรับด้านการศึกษา เทียบเท่า การให้บริการทางด้านเกมส์คอมพิวเตอร์ (กรณี ให้บริการทั้งสองประเภท)
                  - ดูแล และสอดส่อง ไม่ให้เด็กและ เยาวชน ใช้บริการนานเกินสมควร
                  - ไม่สนับสนุน ให้เด็ก และเยาวชน ที่หนีเรียน มาใช้บริการ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
                  - ไม่มีสิ่งเสพติด ของมึนเมา หรืออบายมุขใดๆอยู่ในสถานประกอบการ
                  - ไม่อนุญาตให้มีการสูบบุหรี่ ในสถานประกอบการ
                  - ไม่มีสื่อลามกอนาจารใดๆ ในสถานประกอบการ
                  - ไม่ให้มีการพนัน เกิดขึ้น ในสถานประกอบการ
                  - มีความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน และให้ความร่วมมือกับ ผู้ปกครอง/โรงเรียน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง
                  - เป็นแหล่งสนับสนุนการศึกษา และค้นคว้าหาความรู้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป

ที่มา: https://www.thairath.co.th/content/433484
       : http://www.moralcenter.or.th/ewt_news.php?nid=878&filename=index
       :http://neung.kaengkhoi.ac.th/information1/techno_3_2.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น